เซฟตี้อินไทย
การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง ก่อนที่จะเริ่มงาน ต้องทำการชี้บ่งอันตรายของพื้นที่ทำงาน และกระบวนการทำงาน ที่มีความเสี่ยงต่อ การตกจากที่สูง ตลอดจนเส้นทางสัญจรต่างๆ เพื่อพิจารณามาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยเฉพาะงาน หรือพื้นที่ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ

การชี้บ่งอันตราย

การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) คือ กระบวนการค้นหาอันตรายต่าง ๆ ที่มีอยู่ และที่แอบแฝง อยู่ในทุกขั้นตอนของงาน หรือกิจกรรม พร้อมทั้งการระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

การป้องกันการตกจากที่สูง

การตกจากที่สูง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ของการเสียชีวิต หรือการบาดเจ็บ ที่เกิดจากการทำงาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง และการบริการ มาตรการการจัดการความเสี่ยง ในการทำงานจากการตกจากที่สูง จึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางการปฏิบัติ ข้อควรระวัง และข้อห้าม ในการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง รวมไปถึงวิธีการตรวจสอบ และบำรุงรักษา การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ตามลักษณะงาน และแสดงกรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่าง ในการจัดการด้านการป้องกันการตกจากที่สูง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย จากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย และ โรคจากการทำงาน บนที่สูง ได้อย่างเป็นรูปธรรม  

การทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูง หมายถึง การปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามในบริเวณ ที่มีความต่างระดับของพื้นที่ ทำงานที่มีความสูง และมีโอกาสตกจากที่สูง ของบุคคลหรือวัสดุจากระดับหนึ่งสู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บริเวณที่มีทางขึ้น – ลงหรือบันได บริเวณลาดชัน ที่ลื่น หรือมีพื้นผิวที่ไม่แข็งแรงมั่นคง เป็นต้น

การตกจากที่สูง

การตกจากที่สูง หมายถึง การตกของบุคคล หรือการตกของวัสดุ จากระดับหนึ่ง สู่ระดับที่ต่ำกว่า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุ การเสียชีวิต หรือการบาดเจ็บ ที่เกิดจากการทำงาน ที่จำเป็นต้องมี การป้องกันการตกจากที่สูง เพื่อป้องกัน และลดการเกิดอุบัติเหตุ ที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงนั้น ๆ การป้องกันการตกจากที่สูง
นั้นจำเป็น ต้องมีการจัดการความเสี่ยง ในการทำงานจากการตกจากที่สูง ซึ่งประกอบด้วย การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีต่าง ๆ และการควบคุมความเสี่ยงในที่สุด โดยให้เป็นไปตาม มาตรฐาน การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Occupational Safety and Health Risk Management System Standard) 

การชี้บ่งอันตรายจากการตกจากที่สูง

การชี้บ่งอันตรายจากการตกจากที่สูง

ก่อนที่จะเริ่มงาน ต้องทำ การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง ของพื้นที่ทำงาน และกระบวนการทำงาน ที่มีความเสี่ยง ต่อการตกจากที่สูง
ตลอดจนเส้นทางสัญจรต่าง ๆ เพื่อพิจารณา มาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยเฉพาะงาน หรือพื้นที่ ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ 

พื้นที่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง มีดังนี้

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง
  1. สิ่งก่อสร้าง หรือ โครงสร้าง ที่กำลังก่อสร้าง ติดตั้ง รื้อถอน ซ่อมแซม ทำความสะอาด ตรวจสอบ ทดสอบ หรือบำรุงรักษา
  2. พื้นที่ ที่ไม่มั่นคง แข็งแรง เช่น หลังคา กระเบื้อง หลังตาแผ่นโลหะ หลังคาไฟเบอร์กลาส
การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง

3. พื้นผิว ที่ไม่มั่นคง เช่น พื้นที่ ที่ดินอาจทรุดตัว รวมถึงพื้นดินที่ถม หรือบดอัดไม่แน่น

4. การใช้อุปกรณ์ เช่น นั่งร้าน พื้นยกระดับ หรือบันไดพาด ในการปฎิบัติงานบนที่สูง

5. การทำงานบนพื้นผิว ที่ลาดเอียง หรือ ลื่น 

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง

6. การทำงานใกล้ขอบ ที่ไม่มีการป้องกันการตก เช่น ไม่มีราวกันตก หรือ ไม่มีราวบันได เป็นต้น

7. การทำงานใกล้หลุม ช่องเปิด หรือปล่อง ที่ลูกจ้าง อาจตกอิสระ เช่น ร่องลึก รูเสาเข็ม 

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง ที่ดี

ตามลำดับความสำคัญ

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง

1. การขจัด หรือ ทดแทน (Eliminate or Substitution)

ขจัดหรือย้ายอันตราย โดยการทำงานบนพื้นดิน เพื่อลดการทำงานบนที่สูง

2. การลดความเสี่ยง ให้เหลือน้อยที่สุด (Reduce Risk)

โดยการออกแบบ ระบบงานที่ปลอดภัย เช่น การรักษาระยะความปลอดภัยให้ลูกจ้าง (Fall Restraint) การออกแบบระบบเพื่อหยุดการตกกระแทกภายหลังการตก
(Fall Arrest)

การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง

3. การป้องกันการตกเชิงวิศวกรรม (Fall protection with Enguneering Control)

การป้องกันการตกเชิงวิศวกรรม (Fall Protection with Engineering Control) โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เช่น แผ่นพื้นถาวร รถกระเช้า นั่งร้าน กระเช้าสำหรับปฏิบัติงาน

4. ด้านการบริหารจัดการ (Administative Controls)

การควบคุมด้านการบริหารจัดการ (Administrative Controls) โดยกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน หรือระเบียบ ปฏิบัติเพื่อเตือนลูกจ้าง

5. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment;PPE)

(Personal Protective Equipment; PPE) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า (PPE) หมายถึง อุปกรณ์ที่สวมใส่ ปกคลุมส่วนใด ส่วนหนึ่ง ของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากสภาพ และสิ่งแวดล้อม ในขณะปฏิบัติงาน เช่น
1. สายรัดชนิดเต็มตัว (Full body harness)
2. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ
3. อุปกรณ์ป้องกันมือ
4. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า และ ดวงตา
5. รองเท้านิรภัย    

หากคุณกำลังมองหาที่อบรม การทำงานบนที่สูง การชี้บ่งอันตรายและการป้องกันการตกจากที่สูง ขอแนะนำ เซฟตี้อินไทย สนใจโทร 033-166-121

การทำงานบนที่สูง อบรมที่สูง อบรมการทํางานบนที่สูง ความปลอดภัยในการทํางานบนที่สูง อบรมที่สูงออนไลน์ อบรมขึ้นที่สูง 

ติดต่อเรา

  ที่ตั้ง:
7/77 หมู่ 5 ต.ห้วยกะปิ อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20130

ติดตามเรา

© 2022 Created with  เซฟตี้อินไทย

ข้อตกลงและเงื่อนไข เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

รับทราบ